Hotline : 02 315 9133

Tocotrienols: the Better Vitamin E (Phase 2)


โทโคไตรอีนอล ช่วยป้องกันมะเร็ง
         
จากการ ศึกษาในหลอดทดลองพบว่า โทโคไตรอีนอล มีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญเติมโตของมะเร็งเต้านม มะเร็งของตับอ่อน มะเร็งผิงหนัง และมะเร็งต่อมลูกหมากได้ นอกจากนั้น จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า โทโคไตรอีนอลสามารถป้องกันเซลล์ปกติจากการทำลายโดยการฉายแสง และป้องกันภาวะ เทโลเมียร์หดสั้น (telomere shortening)ซึ่งเป็นคุณสมบัติพบในเซลล์ที่เสื่อมชรา
          ผลการศีกษาทางระบาดวิทยาพบว่า การรับประกันอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินอี สามารถลดโอกาสเกิดมะเร็งเต้านมได้ ซึ่งผลการศึกษาในห้องปฏิบัติการพบว่า โทโคไตรอีนอล สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมได้ และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของยา tamoxifen ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษาผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมอีกด้วย

ตารางที่ 1 ผลของการรับประทานอาหารที่มีวิตามินอีสูงกับการเกิดมะเร็งเต้านม

 สตรีก่อนวัยหมดระดู (premenopause) ที่ มี ประวัติมะเร็งเต้านมในครอบครัว
 ลดโอกาสเกิดมะเร็งเต้านมได้ 90%
 สตรีก่อนวัยหมดระดู (permenopause) ที่ ไม่มี ประวัติมะเร็งเต้านมในครอบครัว
 ลดโอกาสเกิดมะเร็งเต้านมได้ 50%
 สตรีหลังวัยหมดระดู (post-menopause) ที มี ประวัติมะเร็งเต้านมในครอบครัว
 ลดโอกาสเกิดมะเร็งเต้านมได้ 30%
 สตรีหลังวัยหมดระดู (post-menopause) ที่ ไม่มี ประวัติมะเร็งเต้านมในเครอบครัว
 ลดโอกาสเกิดมะเร็งเต้านมได้ 50%


โทโคไตรอีนอล ช่วยป้องกันผมร่วง
   
         มีรายงานถึงการใช้ โทโคไตรอีนอล ในขนาด 50 มก. ต่อวัน เป็นเวลา 5 เดือน พบว่า โทโคไตรอีนอล ช่วยลดการเกิดผมร่วงได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

โทโคไตรอีนอล ไม่ส่งผลข้างเคียง แม้จะรับประทานในขนาดสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน


         ในคนทั่วๆ ไป ที่ไม่ได้เจ็บป่วย ขนาดของโทโคไตรอีนอลที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 50 - 100 มก. ต่อวัน แต่สำหรับคนที่มีความเสื่อมเกิดขึ้นแล้ว หรือป่วยเป็นโรค ควรรับประทานในขนาด 100 - 200 มก. ต่อวัน มีการศึกษาพบว่า การรับประทาน โทโคไตรอีนอล ในขนาดสูงถึง 240 มก. ต่อวัน ติดต่อกันเป็นเวลานานถึง 4 ปี ไม่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งแตกต่างจากการรับประทานยา ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดผลข้างเคียง


คำกล่าวที่ว่าทานอาหารตามปกติก็ได้วิตามินเพียงพอ ใช้ไม่ได้กับวิตามินอีโทโคไตรอีนอล

          โทโคไตรอีนอลไม่พบในอาหารทั่วๆ ไป นอกจากธัญพืชบางชนิด และผลปาล์ม และถึงแม้โทโคไตรอีนอลจะเป็นองค์ประกอบของน้ำมันปาล์ม และน้ำมันรำข้าว แต่มีในปริมาณไม่มาก ดังนั้นการจะรับประทานน้ำมันปาล์มที่ใช้ประกอบอาหาร เพื่อให้ได้ วิตามินอีโทโคไตรอีนอล 50 มก. จะต้องรับประทานน้ำมันปาล์มถึง 80 กรัม(ประมาณหนึ่งถ้วย) และต้องเป็นน้ำมันปาล์มที่ไม่ผ่านการหุงต้มด้วยความร้อนสูง เพราะความร้อนจะทำให้โทโคไตรอีนอลเสื่อมสภาพนอกจากนั้น การรับปรเทานวิตามินอีธรรมดาที่มีขายในท้องตลาด ซึ่งเป็น แอลฟ่า โทโคฟีรอล ในขนาดสูงจะรบกวนการดูดซึมของโทโคไตรอีนอล ซึ่งมีอยู่น้อยมากอยู่แล้วในอาหาร ดังนั้น คนที่ต้องการรับประทานวิตามินโทโคไตรอีนอล จึงไม่ควรทานวิตามินอีที่เป็นแอลฟ่า โทโคฟีนอลขนาดสูงร่วมด้วย
          ผลปาล์ม เป็นแหล่งที่ดีของโทโคไตรอีนอล เพราะมีสัดส่วน ของโทโคไตรอีนอล ต่อโทโคฟีรอล ที่ 3.5:1 ในขณะที่วิตามินอีจากรำข้าว จะมีสัดส่วนของ โทโคไตรอีนอล ต่อ โทโคฟีรอล เพียง 1:1 เท่านัั้น ดังนั้น การรับประทานน้ำมันรำข้าว เพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถให้โทโคไตรอีนอลได้อย่างพอเพียง

ตารางที่ 2 แสดงถึงปริมาณอาหารปกติที่ต้องรับประทานเป็นจำนวนมากเพื่อที่จะได้ โทโคไตรอีนอล ในปริมาณที่เพียงพอ

 Sources Amount Taken To Achieve the Required Levels of Tocotrienols
 RBD Palm Olein (Cooking Oil)
  1 tea cup (~80g)
 Rice Bran Oil
  2 tea cup (~160g)
 Barley   3.0 kg.
 Wheatgerm   1.5 kg.
 Oats   4.0 kg.

โทโคไตรอีนอลจากผลปาล์มผสมในน้ำมันรำข้าว เพื่อหัวใจแข็งแรง

          เนื่องจากวิตามินอี เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน การทำวิตามินในรูปของเม็ดน้ำมัน จะต้องมีตัวทำละลาย ซึ่งวิตามินอีธรรมดา แอลฟ่า โทโคฟีรอล ที่มีขายในท้องตลาด จะละลายอยู่ในน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันถั่วเหลืองจัดอยู่ตระกูลโอเมก้า 6 ซึ่งการรับประทานมากๆ จะกลายเป็นสารตั้งต้นของการอักเสบอันเป็นสาเหตุของความเสื่อมสภาพในร่างกาย ซึ่งแตกต่างจากน้ำมันมะกอก ที่อุดมไปด้วยกรดไขมัน โอเลอิค (oleic acid) ซึ่งอยู่ในตระกูลโอเมก้า 9 จากงานศึกษาวิจัยที่ผ่านมาพิสูจน์แล้ว่า กรดไขมัน โอเลอิค สามารถช่วยป้องกันการอักเสบของหลอดเลือดอันเป็นสาเหตุตั้งต้นของโรคหัวใจขาด เลือดได้

          น้ำมันรำข้าวเป็นน้ำมันอีกชนิดหนึ่งที่มีกรดไขมันโอเลอิค ในปริมาณสูงใกล้เคียงกับน้ำมันมะกอกดังนั้น การผสมวิตามินอีโทโคไตรอีนอลเข้มข้นในน้ำมันรำข้าว จึงเปรียบเสมือนการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันโรคหัวใจขาเลือด เพราะทำให้ได้ทั้งวิตามินอีโทโคไตรอีนอลและน้ำมันรำข้าว ไปพร้อมกัน

โทโคไตรอีนอล วิตามินอีเพื่ออนาคต


          ด้วยเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมา โทโคไตรอีนอล จึงเป็นวิตามินอีที่ดีกว่า ที่ยากที่จะได้รับจากอาหารปกติอย่างเพียงพอ จัดเป็นอาหารเสริมที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะไม่เพียงแต่จะช่วยปกป้องความเสื่อมสภาพของเซลล์จากอนุมูลอิสระได้อย่าง มีประสิทธิภาพ แต่ยังช่วยลดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งและยังอาจมีบทบาทในการช่วยป้องกัน การเกิดโรคหัวในขาดเลือด ซึ่งเป็นสองสาเหตุสำคัญของอัตราการตายทั่วโลก

          คนทั่วไปมักจะรอให้ตนเองป่วย แล้วจึงค่อยไปพบแพทย์ และเข้าใจว่าหากได้ยามาทานก็จะหายจากความเจ็บป่วย แต่ความจริงคือ โรคที่เป็นผลตามมาจากความเสื่อมชราเป็นสิ่งที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การใช้ยาก็เป็นเพียงการักษาที่ปลายเหตุ เพียงเพื่อการบรรเทาอาการ แต่ไม่สามารถทำให้พยาธิสภาพที่เกิดขึ้นแล้วหายคืนมาเป็นปกติได้ ดังนั้น การรักษาโรคที่ดีที่สุด ก็คือการป้องกันตนเองจากการเกิดโรค นั่นคือการปฏิบัติตนตามวิถีสุขภาพที่ดี อันได้แก่การรับประทานอาหารในปริมาณที่พอควร ลดของหวาน เลี่ยงของทอด ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว และออกกำลังสม่ำเสมอ

          งานวิจัยทางด้านระบาดวิทยา พบว่า การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินอี จะสามารถช่วยลดโอกาสเกิดโรคภัยอันเกิดจากความเสื่อมชรา อันได้แก่โรคมะเร็ง โรคหัวใจ  และโรคสมองเสื่อม แต่เนื่องจากอาหารที่คนส่วนใหญ่รับประทานจะมีวิตามินอีอยู่น้อยมาก การรับประทานวิตามินอีเสริมอยู่เป็นประจำจึงน่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

         ในปัจจุบัน วิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ก้าวไปข้างหน้า การรับประทานวิตามินอี แบบโบราณ ที่มีขายทั่วไปในท้องตลาด จึงควรเป็นเรื่องของอดีต ผู้เขียนเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า การใช้วิตามินอีที่ดีกว่า ที่เรียกว่า โทโคไตรอีนอล น่าจะมีบทบาทในการป้องกันสุขภาพจองคนทั้วโลกได้ในอนาคต


ขอขอบคุณ ดร. นพ. พัฒนา เต็งอำนวย