Tocotrienols: the Better Vitamin E (Phase 1)
วิตามินอี ในธรรมชาติ มีอยู่ 2 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ โทโคฟีรอล (tocopherols) และกลุ่มที่ 2 คือ โทโคไตรอีนอล (tocotrienols) และในแต่ละกลุ่มยังแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ดังนั้น วิตามินอีในธรรมชาติ จึงมีอยู่ด้วยกัน 8 ชนิด ได้แก่ แอลฟ่า, เบต้า, เดลต้า, และ แกมม่า –โทโคฟีรอล (a,b,d,g –tocopherols) และ แอลฟ่า, เบต้า, เดลต้า, และ แกมม่า -โทโคไตรอีนอล (a,b,d,g –tocotrienols) ตามลำดับ
ในอดีต วิตามินอีที่มีจำน่ายในท้องตลาด จะอยู่ในรูปของ แอลฟ่า โทโคฟีรอล (tocopherol) ขนาดสูงเพียงตัวเดียว เนื่องจากเป็นวิตามินอีตัวแรกที่ถูกค้นพบ มีปริมาณสูงในอาหาร และหลังรับประทานจะพบระดับสูงสุดในเลือด ซึ่งการที่เลือดของคนเรามีปริมาณของ แอลฟ่า โทโคฟีรอล สูงกว่าวิตามินอีชนิดอื่น ๆ อาจไม่ได้หมายความว่า แอลฟ่า โทโคฟีรอล เป็นวิตามินอีที่สำคัญที่สุด แต่อาจเป็นเพราะ แอลฟ่า โทโคฟีรอล ไม่สามารถแทรกตัวเข้าสู่ผนังเซลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเหลือค้างอยู่ภายในเลือด นอกจากนั้น มีการศึกษาพบว่า การรับประทาน แอลฟ่า โทโคฟีรอล เพียงตัวเดียวในขนาดสูง ๆ จะทำให้ ระดับของวิตามินอีตัวอื่น ๆ ภายในเซลล์ลดลง ซึ่งอาจเป็นโทษ ดังตัวอย่างเช่นงานวิจัยที่ศึกษาถึงการทำงานของเซลล์หลอดเลือดในสัตว์ทดลองที่ได้รับอาหารไขมันสูง ซึ่งปรากฏว่า การทำงานของหลอดเลือดจะดีขึ้นเมื่อให้ แอลฟ่า โทโคฟีรอลในขนาดต่ำ แต่กลับเลวลงเมื่อให้ แอลฟ่า โทโคฟีรอลในขนาดสูง ๆ
ในปัจจุบัน เรามีวิตามินอี ตัวใหม่ที่ดีกว่า คือ โทโคไตรอีนอล (tocotrienols) ซึ่งสกัดมาจากน้ำมันของผลปาล์ม และประกอบด้วย โทโคไตรอีนอลทั้ง 4 ชนิด แต่แตกต่างจากน้ำมันปาล์มที่ใช้ในการประกอบอาหาร เพราะมีความเข้มข้นของวิตามินอีสูง และสัดส่วนของวิตามินอี ต่อกรดไขมันอิ่มตัวที่สูงกว่าน้ำมันปาล์มที่ใช้ประกอบอาหาร จากการศึกษาวิจัยที่ผ่านมา พบว่า โทโคไตรอีนอล น่าจะเป็นวิตามินอีที่มีคุณสมบัติในการป้องกันร่างกายจากการเสื่อมสภาพจากพิษของอนุมูลอิสระได้ดีกว่า โทโคฟีรอล
โทโคไตรอีนอล วิตามินอี ที่ดีกว่า
ด้วยโครงสร้างของโทโคไตรอีนอล ซึ่งมีพันธะคู่มากกว่า จึงอยู่ในสภาพไม่อิ่มตัวสูง (เช่นเดียวกับน้ำมันพืช ซึ่งไม่เป็นไขเมื่อแช่เย็น) ในขณะที่ วิตามินอีธรรมดา โทโคฟีรอล มีความอิ่มตัวสูงกว่า (เช่นเดียวกับน้ำมันหมู ซึ่งเป็นไขเมื่อถูกความเย็น) ส่งผลทำให้ โทโคไตรอีนอล สามารถแทรกตัวอยู่ในผนังเซลล์ (ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว) ได้ดีกว่าวิตามินอีธรรมดา และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่สูงกว่าวิตามินอีธรรมดา ถึง 60 เท่า นอกจากนั้น โทโคไตรอีนอลยังมีคุณสมบัติพิเศษที่เหนือกว่าวิตามินอีธรรมดา อันได้แก่ การช่วยลดไขมันโคเลสเตอรอล ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด และยังช่วยต่อต้านการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ซึ่งเป็นสาเหตุของการตายอันดับหนึ่ง ของประชากรทั่วโลกในปัจจุบัน
โทโคไตรอีนอล เพื่อผิวสวยสดใส
ความชราของผิวพรรณ เกิดจากการที่แสงแดดก่อให้เกิดอนุมูลอิสระที่เรียกว่า ซิงเกลท ออกซิเจนซึ่งส่งผลให้ผิดพรรณเกิดริ้วรอย ฝ้าและกระ ด้วยเหตุผลที่โทโคไตรอีนอลสามารถแทรกตัวเข้าสูงผนังเซลล์ได้ดี จึงไม่น่าแปลกใจที่การศึกษาพบว่า หลังจากรับประทาน โทโคไตรอีนอล เทียบกับวิตามินอีธรรมดาระดับของโทโคไตรอีนอลภายในผิวหนังจะสูงกว่าวิตามิน อีธรรม แสดงถึงว่า โทโคไตรอีนอลสามารถเข้าสู่เซลล์ผิวหนังได้ดีกว่า และยังสามารถป้องกันผิวพรรณจากอนุมูลอิสระที่เกิดจากแสงแดด อันเป็นสาเหตุของความชราได้ดีกว่า วิตามินธรรมดามาก
โทโคไตรอีนอล เพื่อหัวใจแข็งแรง
โรค หัวใจขอดเลือด เกิดจากภาวะหลอดเลือดแข็งตัว ซึ่งเป็นภาวะที่หลอดเลือดมีการเสื่อมสภาพจากอนุมูลอิสระ ทำให้หลอดเลือดมีการอักเสบ มีไขมันโคเลสเตอรอลที่เสื่อมสภาพ (oxidiaed LDL) ไปเกาะ และตามมาด้วยการมีเกล็ดเลือดเกาะกลุ่มอุดตัน ส่งผลทำให้อวัยวะที่เลี้ยงด้วยเส้นเลือดนั้นๆ ขาดเลือด
ตับเป็นอวัยวะหลักที่สร้างโคเลสเตอรอล โดยที่ตับสามารถสร้างโคเลสเตอรอลถึงประมาณ 1 กรัมต่อวัน (ซึ่งประมาณ 80% ของโคเลสเตอรอลในร่างกาย อีก 20% คือโคเลสเตอรอลที่ได้จากอาหาร) ซึ่งโคเลสเตอรอลที่มากเกินไป อาจเป็นอันตรายจากการเกาะที่เส้นเลือด ส่งผลทำให้เส้นเลือดอุดตัน เคยมีผู้ประเมินว่า หากเราลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดลงได้ 10% จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ถึง 30%, 40% และ 50% ในชายที่มีอายุ 60, 50 และ 30 ปี ตามลำดับ
มีการศึกษาพบว่า การรับประทานโทโคไตรอีนอล ในขนาด 100-200 มก. ต่อวัน เป็นเวลา 4-10 สัปดาห์ สามารถช่วยลดระดับของโคเลสเตอรอลในเลือดลงได้ 8% - 25% จากการลดการสร้าง HMG CoA reducate ซึ่งเป็นเอนซัยม์หลักที่ตับใช้ในการสร้างไขมันดคเลสเตอรอล กลไกนี้แตกต่างจากยาในกลุ่มสตาติน(statin) ที่ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการทำงานของเอนซัยม์โดยตรง นอกจากนั้น เนื่องจาก อนุมูลที่ ทำปฏิกิริยากับไขมันโคเลสเตอรอล เป็นสาเหตุที่ส่งผลให้โคเลสเตอรอลไปเกาะอยู่ที่ผนังของหลอดเลือด และตามมาด้วยภาวะหลอดเลือดแข็งตัว โทโคไตรอีนอลสามารถยับยั้งการทำปฎิกิริยาของอนุมูลอิสระกับไขมันโคเลสเตอรอล (LDL-cholesterol oxidation) จึงเป็นการป้องกันการเกาะของโคเลสเตอรอลในผนังหลอดเลือดจากต้นเหตุ และยังมีคุณสมบัติช่วยลดการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด (anti-platelet) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดภาวะเส้นเลือดอุดตัน อีกด้วย
ด้วยกลไกการออกฤทธิ์ดังกล่าวทำให้ โทโคไตรอีนอล
เป็นอาหารเสริมที่เหมาะสมที่สุดในการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด
ซึ่งได้รับการยืนยันโดยผลการศึกษาทางคลินิกหลายๆ งานวิจัยที่แสดงว่า
การรับประทาน โทโคไตรอีนอล ในขนาดสูง (100 - 200 มก. ต่อวัน)
ติดต่อกันเป็นเวลาหนึ่งปี จะช่วยลดการเกิดตะกรันภายในหลอดเลือด
ทำให้หลอดเลือดมีความยืดหยุ่นที่ดีขึ้น ความดันในหลอดเลือดลดลง
และในบางรายสามารถช่วยให้หลอดเลือดแดงกลับคืนสู่สภาพที่ดีขึ้นได้
โทโคไตรอีนอล ป้องกันสมองเสื่อม
ภาวะสมองเสื่อม อาจเกิดจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองเสื่อมสภาพ
เนื่องจากโทโคไตรอีนอล มีคุณสมบัติพิเศษในการป้องกันภาวะหลอดเลือดแข็งตัว
จึงเป็นวิตามินที่น่าจะมีบทบาทในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองตีบ
ซึ่งเป้นสาเหตุของอัมพาต และความทุพพลภาพในผู้สูงอายุได้ นอกจากนั้น
สาเหตุสำคัญอีกประการของการเกิดโรคสมองเสื่อมคือพิษของอนุมูลอิสระ
ซึ่งผลของการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า วิตามินอี
โทโคไตรอีนอลสามารถแทรกตัวเข้าสู่เซลล์สมอง
และช่วยป้องกันพิษของอนุมูลอิสระที่มีต่อระบบประสาท
โทโคไตรอีนอล ป้องกันไขมันเกาะตับ
ภาวะไขมันเกาะตับ เกิดจากการมีไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์สะสมอยู่ในตับ ไขมันเหล่านี้เกิดจากการที่ตับสร้างขึ้นจากอาหารส่วนเกินเช่น แป้ง ไขมัน และเหล้า และอาจนำไปสู่ภาวะตับอักเสบ หรือ โรคตับแข็งได้ การรักษาไขมันเกาะตับ ได้แก่การลดอาหารจำพวกแป้ง เช่น ข้าว และน้ำตาล ร่วมไปกับการออกกำลังและลดน้ำหนักตัว อย่างไรก็ตาม การรักษาโดยการเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอยู่เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก และต้องใช้เวลา มีการศึกษาพบว่า การรับประทานวิตามินอี ไม่ว่าจะเป็น โทโคฟี่รอล ในขนาด 400u หรือ โทโคไตรอีนอลในขนาดสูง คือ 400มก. ต่อวัน สามารถช่วยให้การทำงานของตับดีขึ้นได้ ซึ่งกลไกการออกฤทธิ์ นอกเหนือไปจากการมีคุณสมบัติในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระแล้ว โทโคไตรอีนอลยังสามารถยับยั้งการสร้างไขมันไตรกลีเซอร์ไรค์อีกด้วย
"จากผลการวิจัยผลพบว่าวิตามินอีโทโคไตรอีนอลยังมีประโยชน์อีกมากมาย สามารถติตามบทความเรื่องนี้ต่อในข้อความเดือนหน้า"
ขอขอบคุณ ดร. นพ. พัฒนา เต็งอำนวย